ความผิดปกติของการนอนหลับ (Sleep Disorders) อาการ สาเหตุ การรักษา

6 Jul, 2021 | สุมุกดา ฉิมโพธิ์กลาง | No Comments

ความผิดปกติของการนอนหลับ (Sleep Disorders) อาการ สาเหตุ การรักษา

ความผิดปกติของการนอนหลับคืออะไร?

ความผิดปกติของการนอนหลับ (Sleep disorders) เป็นกลุ่มภาวะที่มีผลต่อความสามารถในการนอนหลับสนิทตามปกติ แม้ว่ามันจะมีสาเหตุมาจากปัญหาสุขภาพหรือเกิดโรคเครียด นอนไม่หลับ ซึ่งกลายเป็นเรื่องปกติมากในสังคมปัจจุบัน

 

คนส่วนใหญ่มักประสบปัญหาการนอนไม่หลับ กระสับกระส่าย เนื่องจากความเครียด  ตารางงานที่วุ่นวาย และอิทธิพลภายนอก อย่างไรก็ตาม เมื่อปัญหาเหล่านี้เกิดขึ้นเป็นประจำและรบกวนชีวิตประจำวัน อาจบ่งบอกถึงความผิดปกติของการนอนหลับ

คนเราอาจมีช่วงเวลาที่ยากลำบากในการนอนหลับ และอาจรู้สึกเหนื่อยมาตลอดทั้งวัน  ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับประเภทของโรคการนอนหลับ การอดนอนอาจส่งผลเสียต่อแหล่งพลังงานของร่างกาย อารมณ์  สมาธิ และสุขภาพโดยรวม

ในบางราย ความผิดปกติของการนอนหลับอาจเป็นอาการของภาวะทางการแพทย์หรือภาวะทางสุขภาพจิตอื่นๆ ซึ่งปัญหาของการนอนหลับเหล่านี้อาจหมดไปหากได้รับการรักษาที่สาเหตุ แต่ปัญหาผู้สูงอายุนอนไม่หลับนั้นพบได้มากเนื่องจากร่างกายเสื่อมโทรมและปริมาณฮอร์โมนที่ลดน้อยลง กรณีนี้จำเป็นที่จะต้องรับประทานอาหารเสริมหรือยาที่จะช่วยทดแทนฮอร์โมนนั้น ๆ

เมื่อความผิดปกติของการนอนหลับไม่ได้เกิดจากภาวะอื่นๆ การรักษาทั่วไปจะรวมเอาการรักษาด้วยยาและการปรับเปลี่ยนวิถีชีวิตรวมกัน

สิ่งสำคัญคือควรเข้ารับการวินิจฉัยและรักษาทันที หากคุณสงสัยว่าคุณอาจมีภาวะการนอนหลับที่ผิดปกติ เมื่อปล่อยทิ้งไว้โดยไม่ได้รับการรักษา ผลเสียของความผิดปกติดังกล่าวอาจนำไปสู่ภาวะสุขภาพในภายหลังได้

นอกจากนี้ยังส่งผลกระทบต่อประสิทธิภาพในการทำงานของคุณทำให้เกิดความเครียด นอนไม่หลับ ส่งผลเสียต่อความสัมพันธ์และทำให้ความสามารถในการทำกิจวัตรประจำวันของคุณลดลง

ความผิดปกติของการนอนหลับแต่ละประเภทมีอะไรบ้าง

ความผิดปกติของการนอนหลับมีหลายประเภทที่แตกต่างกัน บางประเภทอาจมีสาเหตุมาจากโรคประจำตัวอื่นๆ

โรคนอนไม่หลับ (Insomnia)

นอนไม่หลับ (Insomnia) หมายถึงการที่ไม่สามารถหลับ หรือหลับได้ลง ซึ่งอาจเกิดจากอาการเจ็ตแล็ก, ความเครียดและความวิตดกังวล, ฮอร์โมน หรือปัญหาในการย่อยอาหาร นอกจากนี้ยังอาจเป็นอาการของภาวะอื่นๆ

การนอนไม่หลับอาจสร้างปัญหาให้กับสุขภาพโดยรวมและคุณภาพชีวิตของคุณ สาเหตุที่เป็นไปได้ ได้แก่:

●     ซึมเศร้า

●     ไม่มีสมาธิ

●     ความหงุดหงิด

●     น้ำหนักเกิน

●     งานหรือการเรียนบกพร่อง

●     มีอาการใจสั่น นอนไม่หลับ

น่าเศร้าที่การนอนไม่หลับกลับเป็นเรื่องปกติไปแล้วสำหรับชาวอเมริกัน เพราะมากกว่าร้อยละ 50 ของวัยผู้ใหญ่ชาวอเมริกันต้องเคยนอนไม่หลับสักครั้งหนึ่งในชีวิต

ความผิดปกติดังกล่าวมักเกิดกับผู้สูงอายุและผู้หญิง

การนอนไม่หลับถูกแบ่งประเภทออกเป็น 3 ประเภท:

●     แบบเรื้อรัง คือเมื่อเกิดการนอนไม่หลับขึ้นเป็นประจำอย่างน้อย 1 เดือน

●     เป็นๆหายๆ เป็นภาวะที่เกิดอาการนอนไม่หลับขึ้นเป็นระยะๆ

●     ชั่วคราว เป็นภาวะการนอนไม่หลับที่กินเวลาเพียงไม่กี่คืนต่อครั้ง

ภาวะหยุดหายใจขณะหลับ (Sleep apnea)

ภาวะหยุดหายใจขณะหลับ (Sleep apnea) เป็นลักษณะของการหยุดหายใจระหว่างการนอนหลับ ซึ่งเป็นภาวะที่ร้ายแรงทางการแพทย์นำไปสู่สาเหตุของการได้รับออกซิเจนลดลงของร่างกาย มันเป็นเหตุให้คุณต้องตื่นขึ้นกลางดึก

มี 2 ชนิด:

●     ภาวะหยุดหายใจขณะหลับ (Obstructive sleep apnea)เมื่อการไหลเวียนอากาศหยุดลง เนื่องจากทางเดินหายใจถูกอุดกั้น หรือตืบแคบเกินไป

●     ภาวะหยุดหายใจขณะหลับจากสาเหตุภายในสมองส่วนกลาง (Central sleep apnea) เป็นปัญหาที่เชื่อมต่อระหว่างสมองและกล้ามเนื้อที่ควบคุมการหายใจ

การนอนละเมอ (Parasomnias)

การนอนละเมอ (Parasomnias) เป็นความผิดปกติของการนอนหลับที่เป็นเหตุให้เกิดการเคลื่อนไหวและพฤติกรรมที่ผิดปกติระหว่างการนอนหลับ ได้แก่:

●     การเดินละเมอ (Sleepwalking)

●     การละเมอพูด (Sleep talking)

●     การละเมอครวญคราง (Groaning)

●     ฝันร้าย (Nightmares)

●     ปัสสาวะรดที่นอน (Bedwetting)

●     การกัดฟันหรือการตรึงฟันกราม (Teeth grinding or jaw clenching)

กลุ่มอาการขาอยู่ไม่สุข (Restless leg syndrome)

กลุ่มอาการขาอยู่ไม่สุข (Restless leg syndrome :RLS) เป็นภาวะที่ต้องขยับขา การกระตุ้นนี้บางครั้งมาพร้อมกับความรู้สึกเสียวซ่าที่ขา แม้ว่าอาการเหล่านี้สามารถเกิดขึ้นได้ในระหว่างวัน แต่จะพบบ่อยที่สุดในเวลากลางคืน

กลุ่มอาการดังกล่าวมักเกี่ยวข้องกับภาวะสุขภาพบางอย่าง รวมไปถึงโรคสมาธิสั้น (Attention deficit hyperactivity disorder :ADHD) และโรคพาร์กินสัน (Parkinson’s disease) แต่ยังไม่ทราบสาเหตุที่แท้จริงของการเกิดโรคดังกล่าว

โรคลมหลับ (Narcolepsy)

โรคลมหลับ (Narcolepsy) เป็นลักษณะของการโจมตีของการนอนหลับที่เกิดขึ้นในขณะตื่นนอน ความผิดปกติดังกล่าวอาจเป็นเหตุให้เกิดการนอนละเมอ ซึ่งทำให้ร่างกายมีลักษณะคล้ายอัมพาตจากการนอนหลับ ทำให้คุณไม่สามารถเคลื่อนไหวร่างกายได้ในทันทีหลังจากตื่นนอน แม้ว่าอาการง่วงนอนจะเกิดขึ้นเอง แต่ก็มีความเกี่ยวข้องกับความผิดปกติของระบบประสาทส่วนกลางเสื่อม เช่น โรคปลอกประสาทเสื่อมแข็ง (Multiple sclerosis)

อาการ

อาการแตกต่างกันไปขึ้นอยู่กับความรุนแรงและประเภทของความผิดปกติของการนอนหลับ  นอกจากนี้ยังอาจแตกต่างกันไปเมื่อความผิดปกติของการนอนหลับเป็นผลมาจากสภาวะอื่นๆ

อย่างไรก็ตาม อาการทั่วไปของความผิดปกติของการนอนหลับ ได้แก่:

●     มีความยากลำบากในการนอนหลับ

●     อ่อนเพลียเวลากลางวัน

●     ถูกกระตุ้นอย่างหนักให้อยากงีบหลับระหว่างวัน

●     มีรูปแบบการหายใจที่ไม่ปกติ

●     เกิดการเคลื่อนไหวในขณะหลับที่ไม่ปกติหรือไม่พึงประสงค์

●     เกิดการเคลื่อนไหวหรือเหตุการณ์อื่นๆในขณะหลับที่ไม่ปกติ

●     เกิดการเปลี่ยนแปลงตารางเวลาการนอน หรือตื่นโดยไม่ได้ตั้งใจ

●     หงุดหงิดหรือวิตกกังวล

●     ประสิทธิภาพในการทำงานหรือการเรียนลดลง

●     ไม่มีสมาธิ

●     ซึมเศร้า

●     น้ำหนักตัวเกิน

สาเหตุ

มันมีหลายภาวะ  โรค และความผิดปกติที่เป็นสาเหตุรบกวนการนอนหลับ ในหลายๆกรณี ความผิดปกติของการนอนหลับเกิดจากปัญหาสุขภาพพื้นฐาน

ภูมิแพ้และปัญหาในการหายใจ

ภูมิแพ้, โรคหวัด และการติดเชื้อทางเดินหายใจส่วนบน สามารถทำให้เกิดปัญหาในการหายใจในเวลากลางคืน การที่ไม่สามารถหายใจทางจมูกอาจทำให้นอนหลับได้ยาก

การปัสสาวะบ่อย

ปัสสาวะบ่อยตอนกลางคืน (Nocturia) หรืออาการปัสสาวะบ่อย อาจรบกวนการนอนของคุณโดยการตื่นขึ้นไปเข้าห้องน้ำในตอนกลางคืน ความไม่สมดุลของฮอร์โมนและโรคของระบบทางเดินปัสสาวะอาจทำให้เกิดภาวะดังกล่าวได้

อย่าลืมโทรปรึกษาแพทย์ทันทีหากคุณมีปัญหาปัสสาวะบ่อยโดยมีเลือดออกหรือปวดร่วมด้วย

อาการปวดเรื้อรัง (Chronic pain)

ความเจ็บปวดอย่างต่อเนื่องอาจทำให้นอนหลับยาก อาจทำให้คุณตื่นขึ้นมาหลังจากที่หลับไป สาเหตุส่วนใหญ่ของอาการปวดเรื้อรัง ได้แก่:

●     ข้ออักเสบ (Arthritis)

●     ภาวะอ่อนเพลียเรื้อรัง (Chronic fatigue syndrome)

●     ไฟโบรมัยอัลเจีย (Fibromyalgia)

●     โรคลำไส้อักเสบ (Inflammatory bowel disease)

●     ภาวะปวดศีรษะเรื้อรัง (Persistent headaches)

●     อาการปวดหลังส่วนล่างอย่างต่อเนื่อง (Continuous lower back pain)

ในบางราย อาการปวดเรื้อรังอาจรุนแรงขึ้น โดยเกิดจากความผิดปกติของการนอนหลับ ตัวอย่างเช่น แพทย์เชื่อว่าการดำเนินของโรคปวดกล้ามเนื้อไฟโบรมัยอัลเจียอาจเชื่อมโยงกับปัญหาการนอนหลับ

ความเครียดและความวิตกกังวล

ความเครียดและความวิตกกังวลมักทำให้เกิดแรงกดดันทางลบต่อคุณภาพการนอน ทำให้คุณยากที่จะหลับตานอน หรือนอนได้นาน ฝันร้าย  นอนละเมอพูด หรือละเมอเดินอาจรบกวนการนอนของคุณ

การวินิจฉัย

ขั้นแรกแพทย์จะเตรียมการตรวจร่างกายและซักประวัติเกี่ยวกับอาการและประวัติทางการแพทย์ของคุณ ซึ่งอาจมีการตรวจอีกมากมาย อาธิ:

●     การตรวจการนอนหลับ (Polysomnography :PSG): เป็นการศึกษาการนอนกลับเพื่อประเมินระดับออกซิเจน, การเคลื่อนไหวของร่างกาย และคลื่นสมอง เพื่อประเมินว่าอะไรเป็นตัวที่รบกวนการนอนเมื่อเทียบกับการตรวจการนอนที่บ้าน (Home sleep study :HST) ซึ่งคุณจะเตรียมด้วยตัวเองและใช้ในการวินิจฉัยภาวะหยุดหายใจขณะนอนหลับ

●     การตรวตคลื่นไฟฟ้าของสมอง (Electroencephalogram :EEG): เป็นการประเมินคลื่นไฟฟ้าสมองและตรวจพบปัญหาที่อาจเกิดขึ้นที่เกี่ยวข้องกับกิจกรรมนี้ เป็นส่วนหนึ่งของการตรวจการนอนหลับ

●     การตรวจความง่วงนอน (Multiple sleep latency test :MSLT): This daytime napping study is used in conjunction with a PSG at night to help diagnose narcolepsy.เป็นการศึกษาการงีบหลับตอนกลางคืน เพื่อช่วยในตอนกลางคืน ช่วยวินิจฉัยอาการง่วงนอน

ซึ่งการทดสอบเหล่านี้มีความสำคัญในการกำหนดแนวทางการรักษาโรคการนอนหลับที่ไม่เหมาะสม

การรักษา

การรักษาสำหรับความผิดปกติของการนอนหลับมีหลากหลายวิธีขึ้นอยู่กับชนิดอละภาวะสุขภาพ อย่างไรก็ตามโดยส่วนใหญ่การรักษามักจะรักษาด้วยยาควบคู่กับการปรับเปลี่ยนวิถีชีวิต

การรักษาด้วยยา

การรักษาด้วยยาสำหรับการนอนที่ผิดปกติอาจได้แก่ยา:

●     ยานอนหลับ

●     ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารเมลาโทนิน

●     ยาแก้แพ้และยาแก้หวัด

●     ยาสำหรับโรคประจำตัวmedications for any underlying health issues

●     อุปกรณ์ที่ช่วยในการหายใจ

●     การสวมฟันยาง สำหรับผู้ที่นอนกัดฟัน

การปรับเปลี่ยนวิถีชีวิต

การปรับวิถีชีวิตสามารถพัฒนาคุณภาพของการนอน โดยเฉพาะเมื่อคุณทำควบคู่ไปกับการรักษาด้วยยา คุณอาจต้องพิจารณา:

●     การรับประทานอาหารที่ผสมผสานผักและเนื้อปลาในจานอาหารของคุณให้มากขึ้นและลดการบริโภคน้ำตาล

●     ลดความเครียดและความวิตกกังวลโดยการออกกำลังกายและการยืดเหยียดกล้ามเนื้อ

●     ออกแบบตารางในการนอนหลับและปฏิบัติอย่างเคร่งครัด

●     ดื่มน้ำให้น้อยลงก่อนนอน

●     จำกัดการดื่มคาเฟอีน โดยเฉพาะหลังช่วงบ่าย หรือช่วงเย็น เนื่องจากจะทำให้สมองตื่นตัว นอนไม่หลับ

●     ลดการบริโภคบุหรี่และแอลกอฮอล์ เพราะจะทำให้นอนไม่หลับ ปวดหัว

●     รับประทานคาร์โบไฮเดรตให้น้อยลงในมื้ออาหารก่อนเข้านอน

●     คงไว้ซึ่งน้ำหนักตัวที่เหมาะสมตามที่แพทย์แนะนำ

การเข้านอนและตื่นนอนในเวลาเดียวกันทุกวันสามารถช่วยปรับคุณภาพของการนอนหลับของคุณได้อย่างมาก แม้ว่าคุณอาจถูกล่อลวงให้นอนต่อในวันหยุดสุดสัปดาห์ แต่อาจทำให้ตื่นและหลับยากขึ้นในระหว่างสัปดาห์

แนวโน้ม

ผลกระทบของความผิดปกติของการนอนหลับอาจก่อกวนจนคุณอาจต้องการการบรรเทาในทันที น่าเสียดายที่ในรายที่เป็นระยะยาวอาจใช้เวลาในการแก้ไขที่นานกว่าเล็กน้อย

อย่างไรก็ตาม หากคุณยังยึดติดอยู่กับแผนการรักษาของคุณและสื่อสารกับแพทย์อย่างสม่ำเสมอ คุณสามารถหาวิธีที่จะทำให้คุณนอนหลับได้ดียิ่งขึ้น

นี่คือแหล่งที่มาในบทความของเรา

Write Reviews

Leave a Comment

Please Post Your Comments & Reviews

Your email address will not be published. Required fields are marked *

No Comments & Reviews