นอนไม่หลับ สาเหตุและความเสี่ยง

14 Jul, 2021 | สุมุกดา ฉิมโพธิ์กลาง | No Comments

นอนไม่หลับ สาเหตุและความเสี่ยง

นอนไม่หลับ สาเหตุและความเสี่ยง

นอนไม่หลับคืออะไร

นอนไม่หลับ ภาษาอังกฤษคือ insomnia การนอนไม่หลับส่งผลกระทบมากมายต่อการดำเนินชีวิตประจำวัน ไม่ว่าจะเป็นนอนไม่หลับหรือหลับไม่นานพอ ส่งผลต่อสุขภาพโดยรวม ความสัมพันธ์และประสิทธิภาพของงาน หากท่านนอนไม่หลับแพทย์จะช่วยตรวจหาชนิดของการนอนไม่หลับ ชนิดปฐมภูมิ คือไม่มีสาเหตุจากโรคอื่นๆ การนอนไม่หลับนี้อาจเป็นทั้งแบบชั่วคราวและเรื้อรัง นอนไม่หลับชั่วคราวจะเป็นอยู่ไม่กี่วันหรือสัปดาห์ แต่ชนิดเรื้อรังจะเป็นอยู่นาน

หากการนอนไม่หลับเกิดจากปัญหาอื่นๆ เรียกว่า การนอนไม่หลับแบบ  ทุติยภูมิ ซึ่งพบได้บ่อย อาจเป็นได้ที้งชั่วคราวและเรื้อรัง สาเหตุทั่วไปและความเสี่ยง เช่น

ความเครียด กังวล

ความกังวลทำให้จิตใจไม่สงบยามนอน เรื่องในที่ทำงานหรือโรงเรียนหรือเรื่องในครอบครัว ทำให้เครียด นอนไม่หลับ เหตุการณ์สะเทือนใจเช่นการตายของคนที่เรารัก การหย่า การตกงาน ทำให้เกิดความเครียดและความกังวลยาวนาน และนำไปสู่การนอนไม่หลับเรื้อรัง

ซึมเศร้า

ซึมเศร้าเป็นสาเหตุทั่วไปของการนอนไม่หลับ อาจเกิดจากสารเคมีในสมองไม่สมดุลย์ หรือท่านอาจทุกข์จากความกลัวหรือวุ่นวายใจจึงทำให้นอนหลับไม่สนิท

การนอนไม่หลับเป็นอาการทั่วไปของโรคทางอารมณ์ต่างๆ ไบโพลาร์ โรควิตกกังวล หรือความเครียดหลังผ่านเหตุการณ์ร้ายแรง

เพศ

ผู้หญิงนอนไม่หลับมากกว่าผู้ชายสองเท่า ฮอร์โมนที่เปลี่ยนแปลงในช่วงมีรอบเดือนอาจส่งผลให้นอนไม่หลับ ซึ่งมักเกิดก่อนประจำเดือนจะมา และจะมีเหงื่อออกกลางคืนและร้อนวูบวาบซึ่งรบกวนการนอน ผู้เชี่ยวชาญเชื่อว่าการขาดเอสโตรเจนอาจมีผลให้นอนหลับยากในหญิงวัยหมดประจำเดือน

อายุ

การนอนไม่หลับพบมากขึ้นตามวัย เมื่อแบบแผนการนอนเปลี่ยนไป ผู้สูงอายุมักมีปัญหานอนไม่ครบ 8 ชั่วโมง และต้องการงีบกลางวันเพื่อให้นอนได้ครบแปดชั่วโมง และยังประเมินว่า เกือบครึ่งของชายหญิงอายุเกิน 60 ปี เคยนอนไม่หลับ

ยา

ยาที่มีขายทั่วไปจำนวนมากทำให้นอนไม่หลับ ยาแก้ปวด ยาแก้คัดจมูก ยาลดน้ำหนักมักมีคาเฟอีนหรือตัวกระตุ้นอื่นๆ ยาแก้แพ้อาจทำให้ง่วงงุนในช่วงแรก แต่จะทำให้ปัสสาวะบ่อย ซึ่งต้องตื่นมาเข้าห้องน้ำ

ยาที่แพทย์สั่ง มีส่วนรบกวนการนอนเช่น:

●     ยาแก้ซึมเศร้า

●     ยารักษาโรคหัวใจและตวามดันโลหิต

●     ยาแก้แพ้

●     ตัวกระตุ้น

ตัวกระตุ้น

เครื่องดื่มเหล่านี้มีคาเฟอีนซึ่งกระตุ้นให้สมองตื่นตัว นอนไม่หลับ หรืออาการตาค้าง นอนไม่หลับ ใจสั่น นอนไม่หลับ

●     กาแฟ

●     ชา

●     น้ำอัดลม

●     เครื่องดื่มบำรุงกำลัง

เครื่องกระตุ้นเหล่านี้ รบกวนการนอน การดื่มกาแฟยามเย็นทำให้ตาสว่าง นิโคตินในบุหรี่เป็นตัวกระตุ้นไม่ให้หลับ

แอลกอฮอล์อาจทำให้ง่วง แต่ไม่ทำให้หลับลึก และทำให้นอนไม่หลับ กระสับกระส่าย ระยะหลับลึกสำคัญมากต่อการพักผ่อน

อาการป่วย

อาการป่วยมีผลต่อการนอน โรคเรื้อรังหลายชนิดที่ทำให้นอนไม่หลับเช่น

●     ปวดเรื้อรัง

●     หายใจลำบาก

●     หยุดหายใจตอนหลับ

●     ข้ออักเสบ

●     เบาหวาน

●     โรคของหัวใจและหลอดเลือด

●     โรคอ้วน

●     มะเร็ง

●     ปัสสาวะบ่อย

●     กรดไหลย้อน

●     ไทรอยด์เป็นพิษ

●     วัยหมดประจำเดือน

ความอ้วน

ความผิดปกติของการนอนเชื่อมโยงกับความอ้วน พบว่าผู้ใหญ่ที่นอนน้อยกว่า 6 ชั่วโมงต่อวันจำนวน 33% ที่อ้วน แต่ผู้ใหญ่ที่นอน 6-8 ชั่วโมงต่อวัน เป็นคนอ้วนเพียง 22% พบแบบแผนเหล่านี้ในชายและหญิงทุกเชื้อชาติ

โรคที่มีผลต่อการนอน

บางโรคทำให้นอนไม่ได้หรือตื่นบ่อย เช่น restless leg syndrome (มีอาการเหมือนมีอะไรมาไต่ตามขาส่วนล่าง และต้องเขย่าขาจึงจะหาย), หยุดหายใจขณะหลับ(ความผิดปกติของการหายใจ มีอาการกรนดัง และหยุดหายใจเป็นพักๆ) โรคหัวใจอาจจะทำให้หัวใจเต้นเร็ว นอนไม่หลับได้เช่นกัน

การเปลี่ยนสิ่งแวดล้อม

การทำงานเป็นกะ หรือการเดินทางระยะยาวมีผลต่อวงจรหลับตื่น นั่นคือวงจร 24 ชั่วโมงของชีวเคมี สรีรวิทยาและพฤติกรรมของร่างกายที่ตอบสนองต่อแสงอาทิตย์ วงจรนี้คือนาฬิกาภายในของร่างกาย ซึ่งจะควบคุมวงจรการนอน อุณหภูมิร่างกายและการเผาผลาญอาหาร

นิสัยการนอน

ความกังวลว่าจะนอนไม่พอ ทำให้นอนไม่หลับ หากท่านเป็นอย่างนี้ ควรเปลี่ยนนิสัยการนอน ลองเคล็ดลับเหล่านี้:

●     อาบน้ำอย่างผ่อนคลาย

●     ฟังเพลงที่ผ่อนคลายอารมณ์

●     ไม่ควรดูทีวีหรือทำงานบนที่นอน

●     ไม่ควรกินอาหารก่อนนอน เพราะร่างกายจะวุ่นวายกับการย่อยอาหาร ในเวลาที่ต้องนอน และการกินอาหารทะเลก่อนนอนกระตุ้นให้แสบร้อนหน้าอก

สรุป

ไม่ว่าการนอนไม่หลับของท่านจะเป็นแบบเฉียบพลันหรือเรื้อรัง สิ่งที่ควรทำเพื่อให้หลับสบายคือ ควรลดน้ำหนักถ้าอ้วน ฝึกนิสัยการนอนที่ดี ไม่ควรใช้สิ่งกระตุ้นมากเกินไป ปรึกษาแพทย์และแจ้งให้แพทย์ทราบถึงโรคและยาที่ท่านได้รับ เพื่อค้นหาว่าสิ่งใดทำให้ท่านนอนไม่หลับ และการทำสมาธิเป็นสิ่งที่ดีเพราะบางครั้งหากเรานอนไม่หลับ สมองไม่หยุดคิด ก็อาจจะทำให้สมองเราตื่นตัวตลอดเวลาได้ การทำสมาธิก่อนนอนจะช่วยให้เราไม่คิดฟุ้งซ่านมากเกินไป

นี่คือแหล่งที่มาในบทความของเรา

●     https://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/insomnia/symptoms-causes/syc-20355167

●     https://www.webmd.com/sleep-disorders/insomnia-symptoms-and-causes

●     https://www.sleepfoundation.org/insomnia

●     https://www.nhs.uk/conditions/insomnia/

 

 

 

 

Write Reviews

Leave a Comment

Please Post Your Comments & Reviews

Your email address will not be published. Required fields are marked *

No Comments & Reviews