อาการนอนไม่หลับ (Symptoms of Insomnia)

13 Jul, 2021 | สุมุกดา ฉิมโพธิ์กลาง | No Comments

อาการนอนไม่หลับ (Symptoms of Insomnia)

อาการโรคนอนไม่หลับแบบเรื้อรัง

ตามข้อมูลของการศึกษาพบว่ามีผู้ใหญ่ 10% ถึง 30% ที่ต้องประสบกับอาการของโรคนอนไม่หลับ โรคเกี่ยวกับการนอนคือการนอนหลับยากในช่วงเริ่มต้นหรือไม่สามารถหลับอยู่ตลอดจนตื่นได้ตลอดทั้งคืน สัญญานและอาการของโรคมีความหลากหลายแตกต่างกันในแต่ละบุคคล ซึ่งส่วนใหญ่ขึ้นอยู่กับว่าโรคนอนไม่หลับนั้นเป็นแบบชนิดเรื้อรังหรือเป็นแบบระยะสั้น

เมื่อได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นโรคนอนไม่หลับชนิดเรื้อรัง ผู้ป่วยจะต้องมีอาการอย่างน้อยสามครั้งต่อสัปดาห์เป็นเวลาอย่างน้อยสามเดือน การวินิจฉัยโรคนอนไม่หลับเรื้อรังขึ้นอยู่กับปัจจัยสองอย่าง: โอกาสในการนอนหลับที่เพียงพอและผลที่ทำให้เกิดความบกพร่องในช่วงเวลากลางวัน

การนอนหลับยากในช่วงเริ่มต้นหรือที่เรียกว่าการนอนหลับได้ยาก ในขณะที่ไม่สามารถหลับอยู่ตลอดจนตื่นได้เรียกว่าการตื่นกลางดึกบ่อยๆ ในบางรายที่มีปัญหาโรคนอนไม่หลับอาจมีทั้งอาการนอนหลับยากและมีการตื่นกลางดึกร่วมกันทั้งคู่ ปัญหาทั้งสองอาการสามารถเกิดขึ้นได้กับทุกช่วงวัย ช่วงเวลาของการเคลิ้มหลับ (จำนวนของเวลาที่เริ่มง่วงนอน) หรือการตื่นในระหว่างช่วงกลางคืนอาจถูกนำมาจัดเป็นโรคนอนไม่หลับเรื้อรังได้หากมีอาการมากกว่า 20 นาทีสำหรับเด็กและวัยหนุ่มสาว หรือ 30 นาทีสำหรับผู้ใหญ่

คนที่มีภาวะโรคนอนไม่หลับเรื้อรังอาจมีอาการตื่นเช้ามากกว่าที่ตั้งใจบ่อยๆ ผู้ป่วยส่วนใหญ่-โดยมากมักเป็นเด็กและผู้สูงอายุที่ต้องการการดูแลจากผู้อื่น-ซึ่งเป็การขัดขวางตารางการนอนเพื่อสุขภาพ อีกทั้งคนที่เป็นโรคนอนไม่หลับบ่อยครั้งมักมีความบกพร่องบางอย่างในช่วงเวลากลางวันหนึ่งอย่างหรือมากกว่าอันเป็นผลกระทบจากภาวะนอนไม่หลับดังต่อไปนี้:

●     เหนื่อยล้าและมีอาการป่วย

●     มีปัญหาเรื่องสมาธิ,การให้ความสนใจ,หรือการจดจำบางสิ่งบางอย่าง

●     มีความบกพร่องการเข้าส้งคม, อาชีพและมีผลต่อการเรียน

●     หงุดหงิดและอารมณ์แปรปรวน

●     นอนกลางวันมากเกินไป

●     อยู่ไม่นิ่ง, ก้าวร้าวและมีปัญหาด้านพฤติกรรมอื่นๆ

●     มีความเสี่ยงในการเกิดข้อผิดพลาดและอุบัติเหตุเพิ่มมากขึ้น

อาการของโรคนอนไม่หลับในระยะสั้น

อาการและการวินิจฉัยสำหรับโรคนอนไม่หลับในระยะสั้นนั้นมีความคล้ายคลึงกับโรคนอนไม่หลับชนิดเรื้อรัง แต่มีสิ่งหนึ่งสิ่งเดียวที่เป็นความแตกต่างคือ ผู้ป่วยจะมีอาการนอนหลับได้ยากหรือปัญหาที่คงอยู่นั้นเกิดขึ้นน้อยกว่าสามคืนต่อสัปดาห์ และ/หรือน้อยกว่าสามเดือน

สิ่งที่สำคัญในการแยกแยะโรคนอนไม่หลับระยะสั้นออกจากโรคอื่นโดยดูจากนาฬิกาชีวภาพไม่ตรงเป็นการชั่วคราวและปัญหาการนอนที่เกิดขึ้นเนื่องจากปัจจัยจากสิ่งแวดล้อม ยกตัวอย่างเช่นคนที่ทำงานเป็นกะจะมีปัญหาเรื่องการนอนเป็นผลจากการต้องทำงานช่วงเวลกลางคืนและอาการเจ๊ตแล๊กเป็นผลมาจากการเดินทางข้ามประเทศ ปัญหานี้บ่อยครั้งมักมีทั้งอาการนอนหลับยากและไม่สามารถนอนหลับตลอดได้ทั้งคืน

ในขณะที่โรคนอนไม่หลับระยะสั้นสามารถแยกแยะโรคได้ อาการของโรคนอนไม่หลับเกิดขึ้นจากหลายเหตุ โรคนอนไม่หลับระยะสั้นอาจเกิดขึ้นร่วมกับอาการป่วยทางจิตใจ, โรคประจำตัวหรือการใช้ยาเสพติด สิ่งที่ก่อให้เกิดความเครียดในช่วงเวลากลางวันที่เกี่ยวข้องกับการทำงานหรือชีวิตครอบครัวอาจนำไปสู่อาการระยะสั้นได้เช่นกัน

คนที่มีภาวะโรคนอนไม่หลับระยะสั้นอาการอาการจะค่อยๆลดน้อยลง โดยเฉพาะหากอาการนอนไม่หลับนั้นเกิดขึ้นร่วมกับเหตุการณ์ตึงเครียดหรืออาการเจ็บป่วยชั่วคราว แต่หากปล่อยทิ้งไว้โดยไม่ได้รับการดูแล โรคนอนไม่หลับระยะสั้นอาจกลายเป็นภาวะเรื้อรังได้

ภาวะแทรกซ้อนของโรคนอนไม่หลับ

โรคนอนไม่หลับเรื้อรังอาจส่งผลกระทบร้ายแรงต่อสุขภาพโดยรวมและชีวิตความเป็นอยู่ และยังเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดโรคต่างๆและยังทำให้โรคที่มีอยู่ก่อนแล้วมีความรุนแรงมากขึ้น เช่น:

●     โรคหอบหืดและปัญหาการหายใจและระบบการหายใจอื่นๆ

●     มีปัญหาหัวใจและหลอดเลือดเช่น หัวใจเต้นผิดจังหวะ, ความดันเลือดสูง, โรคหัวใจและหัวใจล้มเหลว

●     มีโรคเครียด นอนไม่หลับ ก่อให้เกิดความวิตกกังวล  ซึมเศร้า และมีความคิดฆ่าตัวตาย 

●     มีการใช้ยาเสพติด

●     อาการปวดเรื้อรัง

●     ภาวะแทรกซ้อนในระหว่างตั้งครรภ์ รวมไปถึงอาการเจ็บท้องคลอดที่เพิ่มมากขึ้น, การคลอดก่อนกำหนดและภาวะทารกคลอดน้ำหนักน้อยเกินไป

●     การอักเสบและปัญหาอื่นๆต่อระบบภูมิต้านทานทีี่ทำให้เป็นเรื่องยากต่อร่างกายในการกำจัดเชื้อโรคและการติดเชื้อ

●     มีปัญหาเรื่องการเผาผลาญที่ส่งผลต่อความอยากอาหารและระบบการย่อยอาหาร ซึ่งอาจนำไปสู่ภาวะโรคอ้วนและปัญหาสุขภาพอื่นๆ

ควรไปพบแพทย์เมื่อไร

ควรปรึกษาแพทย์หากเกิดภาวะขาดการนอนหลับอย่างต่อเนื่องที่ส่งผลกระทบด้านลบต่ออารมณ์  ประสิทธิภาพและแง่มุมอื่นๆในการใช้ชีวิตประจำวัน แม้ว่าจะยังไม่มีอาการสามครั้งต่อสัปดาห์หรืออย่างน้อยสามเดือนก็ตาม คุณก็อาจถูกวินิจฉัยว่ามีภาวะโรคนอนไม่หลับระยะสั้นได้

การจดบันทึกการนอนสามารถช่วยแพทย์ในการหาต้นเหตุได้ ทุกๆสองสัปดาห์เมื่อต้องไปตามนัดให้นำสมุดบันทึกเกี่ยวกับเวลานอนหลับและเวลาตื่น  รูปแบบการเคลิ้มหลับ ช่วงการตื่นตัวและวงจรการนอนในตอนกลางคืนอื่นๆ คุณควรจดบันทึกความรู้สึกที่เกิดขึ้นในระหว่างวัน วิธีการออกกำลังกายและปริมาณคาเฟอีนหรือแอลกอฮอล์ที่คุณบริโภค

การวินิจฉัยขั้นแรกของโรคนอนไม่หลับมักเป็นการตรวจร่างกายและถามคำถาม ซึ่งสิ่งที่ได้จะช่วยทำให้แพทย์สามารถประเมินโรคนอนไม่หลับแยกออกจากโรคอื่นๆได้ หรือหากอาการที่เกิดขึ้นเนื่องมาจากปัจจัยอื่น แพทย์ก็จะสามารถนำผลการทดสอบนี้มาวินิจฉัยแยกโรคเกี่ยวกับการนอนอื่นได้ เช่นภาวะหยุดหายใจขณะหลับ

เมื่อการวินิจฉับเบื้องต้นแล้ว แพทย์อาจสั่งตรวจเพิ่มเติมดังต่อไปนี้:

●     การตรวจคุณภาพการนอนหลับ: การตรวจจะเฝ้าติดตามการนอนหลับ, การตื่นตัวและอาการอื่นๆที่เกิดขึ้นในหนึ่งคืนเต็ม สามารถตรวจได้ที่ศูนย์การนอนหรือที่บ้านก็ได้ขึ้นอยู่กับคำแนะนำของแพทย์ การตรวจวัดยังรวมไปถึงการตรวจสอบความง่วงนอน เพื่อดูช่วงการงีบหลับและตื่นตัวในเวลากลางวัน ซึ่งสามารถหาค่าความรู้สึกและพฤติกรรมในระหว่างวัน

●     เครื่องมือใช้ตรวจวัดการเคลื่อนไหว: เป็นการเฝ้าติดตามเพื่อประเมินการนอนหลับในช่วงกลางคืนว่าเป็นอย่างไร ด้วยการสวมเครื่องจับการเคลื่อนไหวขนาดเล็กที่สามารถติดตามไปได้ทุกที่เป็นเวลาสามถึงสิบสี่วัน

●     การตรวจเลือด: เป็นการเพิ่มข้อควรระวังเพื่อความแน่ใจว่าโณคนอนไม่หลับนั้นไม่ได้เกิดมาจากโรคอื่น แพทย์อาจจะต้องตรวจสอบปัญหาเรื่องไทรอยด์และปัญหาอื่นๆที่อาจทำให้สูญเสียการนอน

การรักษาโรคนอนไม่หลับมีความหลากหลายขึ้นอยู่กับการวินิจฉัย สำหรับโรคนอนไม่หลับเรื้อรัง อาจใช้การบำบัดทางความคิดและพฤติกรรมเป็นเวลาหกถึงแปดสัปดาห์เพื่อช่วยให้คุณนอนหลับได้เร็วขึ้นและสามารถนอนหลับได้โดยไม่ตื่นอีกในระหว่างคืน การบำบัดนี้อาจดำเนินการผ่านทางออนไลน์ ,ผ่านทางโทรศัพท์หรือพบแพทย์, นางพยาบาล,หรือนักบำบัดตัวต่อตัว ยาเบนโซไดอะซีปีนและยานอนหลับอื่นๆอาจถูกสั่งโดยแพทย์ หรือเพื่อเป็นทางเลือกอื่น แพทย์อาจแนะนำยาที่สามารถหาซื้อได้ตามร้านขายยาทั่วไปเช่น อาหารเสริมเมลาโทนินหรือยาต้านฮีสตามีนที่ช่วยในการนอนหลับ

สำหรับโรคนอนไม่หลับทั้งระยะสั้นหรือเรื้อรัง สุขอนามัยที่ดีของการนอนหลับสามารถลดอาการที่เกิดขึ้นได้ สุขอนามัยการนอนที่ดีนั้นรวมไปถึงการจัดห้องนอนให้มีส่วนช่วยในการนอน, การเข้านอนตรงเวลาเป็นประจำทุกคืน (รวมถึงวันหยุดเสาร์อาทิตย์), หลีกเลี่ยงการงีบหลับในเวลากลางวัน,และละเว้นคาเฟอีน, แอลกอฮอล์,และนิโคตินในช่วงเวลาก่อนเข้านอน

 

นี่คือแหล่งที่มาในบทความของเรา

●     https://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/insomnia/symptoms-causes/syc-20355167

●     https://www.webmd.com/sleep-disorders/insomnia-symptoms-and-causes

●     https://www.sleepfoundation.org/insomnia

●     https://www.nhs.uk/conditions/insomnia/

 

 

Write Reviews

Leave a Comment

Please Post Your Comments & Reviews

Your email address will not be published. Required fields are marked *

No Comments & Reviews