โรคนอนไม่หลับ (Insomnia)

25 May, 2021 | สุมุกดา ฉิมโพธิ์กลาง | No Comments

โรคนอนไม่หลับ (Insomnia)

โรคนอนไม่หลับ (Insomnia)

โรคนอนไม่หลับ (Insomnia) เป็นภาวะผิดปกติทางการนอนหลับที่ทำให้นอนหลับยาก หรือเป็นสาเหตุให้ตื่นเช้าเกินไปและไม่สามารถนอนต่อได้ คุณอาจจะรู้สึกเหนื่อยเมื่อตื่นขึ้นมา โรคนอนไม่หลับไม่เพียงแต่จะทำให้พลังงานและอารมณ์ของคุณแย่ลงเท่านั้น แต่ยังรวมถึงสุขภาพ ประสิทธิภาพการทำงาน และคุณภาพชีวิตอีกด้วย

ความเพียงพอของการนอนหลับนั้นต่างกันไปในแต่ละบุคคล แต่ผู้ใหญ่ส่วนมากต้องการการนอนหลับ 7-8 ชั่วโมงต่อคืน

ในบางครั้งผู้ใหญ่หลายคนประสบกับโรคนอนไม่หลับในช่วงสั้น ๆ (ฉับพลัน) ซึ่งอาจเป็นเวลาไม่กี่วันถึงหลายสัปดาห์ โดยปกติแล้วเป็นผลมาจากความเครียดหรือเหตุการณ์ที่ทำให้เกิดความบอบช้ำทางจิตใจ แต่บางคนเป็นโรคนอนไม่หลับติดต่อกันเป็นเวลานาน (เรื้อรัง) ซึ่งอาจเป็นเวลายาวนานหลายเดือนหรือมากกว่านั้น การนอนไม่หลับอาจเป็นปัญหาหลักหรืออาจเป็นปัญหาที่เกิดจากโรคหรือการใช้ยาอื่น ๆ

คุณไม่จำเป็นต้องทนกับคืนที่นอนไม่หลับ การเปลี่ยนแปลงเล็ก ๆ น้อย ๆ ในกินวัตรประจำวันสามารถช่วยได้

อาการของโรคนอนไม่หลับ

อาการของโรคนอนไม่หลับ อาจมีดังนี้:

●     นอนหลับยากในตอนกลางคืน

●     ตื่นระหว่างคืน

●     ตื่นเช้าเกินไป

●     รู้สึกเหมือนไม่ได้นอน

●     รู้สึกเหนื่อยและง่วงนอนระหว่างวัน

●     หงุดหงิด ซึมเศร้า วิตกกังวล

●     ไม่มีสมาธิจดจ่อในการทำสิ่งต่าง ๆ หรือจำสิ่งต่าง ๆ

●     เกิดข้อผิดพลาดหรืออุบัติเหตุ

●     รู้สึกกังวลเกี่ยวกับการนอนหลับ

เมื่อไหร่ที่ต้องไปหาหมอ

หากโรคนอนไม่หลับทำให้คุณมีปัญหาในการทำงานระหว่างวัน คุณควรไปหาหมอเพื่อหาสาเหตุของการนอนไม่หลับเพื่อที่จะได้รักษา  

สาเหตุของโรคนอนไม่หลับ

โรคนอนไม่หลับอาจเป็นปัญหาหลัก หรืออาจเป็นปัญหาจากโรคอื่น

โรคนอนไม่หลับเรื้อรังเป็นผลมาจากความเครียด เหตุการณ์ในชีวิต หรือนิสัยที่รบกวนการนอนหลับ การรักษาสาเหตุที่ซ่อนอยู่สามารถแก้ปัญหาการนอนหลับได้ แต่บางครั้งก็อาจใช้เวลาหลายปี

สาเหตุของโรคนอนไม่หลับเรื้อรังมีดังนี้:

●     ความเครียด นอนไม่หลับ ความกังวลเกี่ยวกับงาน การเรียน สุขภาพ การเงิน หรือครอบครัวที่ทำให้ความคิดยังตื่นตัวในตอนกลางคืน ทำให้ยากแก่การนอนหลับ เหตุการณ์เครียดในชีวิตหรือบาดแผลทางจิตใจ เช่น ความตาย หรือ ความเจ็บป่วยของคนรัก การหย่าร้าง หรือการสูญเสียงาน อาจทำให้เกิดอาการนอนไม่หลับได้

●     การเดินทางหรือตารางการทำงาน นาฬิกาชีวิตของคุณเปรียบเสมือนนาฬิกาภายใน เช่น การหลับและการตื่น การเผาผลาญ และอุณหภูมิร่างกาย การรบกวนนาฬิกาชีวภาพสามารถทำให้เกิดการนอนไม่หลับได้ สาเหตุรวมไปถึงเจ็ทเเล็กจากการเดินทางข้ามเขตเวลา ทำงานกะดึกหรือกะเช้า หรือเปลี่ยนกะบ่อย ๆ

●     มีพฤติกรรมการนอนที่ไม่ดี นอนไม่เป็นเวลา งีบบ่อย ทำกิจกรรมที่ตื่นตัวก่อนนอน มีสภาพแวดล้อมการนอนที่ไม่ดี ทำงาน กิน ดูทีวีบนเตียง ใช้คอมพิวเตอร์ ทีวี มือถือ เล่นเกมส์ หรือการใช้หน้าจออื่น ๆ ก่อนการนอนรบกวนวงจรการนอนหลับ

●     กินของว่างเล็กน้อยก่อนเวลานอนนั้นไม่เป็นไร แต่การกินมากไปอาจทำให้รู้สึกไม่สบายตัวเวลานอน หลายคนอาจมีอาการจุกเสียดท้อง กรดและอาหารไหลย้อนขึ้นไปที่หลอดอาหารหลังจากการกิน ซึ่งทำให้นอนไม่หลับ

โรคนอนไม่หลับเรื้อรังอาจเกิดจากโรคประจำตัวหรือการใช้ยาบาชนิด การรักาาโรคนั้น ๆ อาจทำให้การนอนหลับดีขึ้น แต่โรคนอนไม่หลับก็อาจจะยังคงอยู่หลังจากโรคนั้นได้รับการรักษาแล้ว

สาเหตุอื่น ๆ ของโรคนอนไม่หลับ:

●     ความผิดปกติทางจิตใจ ความวิตกกังวล เช่น ภาวะป่วยทางจิตจากเหตุการณ์รุนแรง อาจรบกวนการนอนหลับของคุณ การตื่นนอนเช้าเกินไปอาจเป็นสัญญาณของโรคซึมเศร้า โรคนอนไม่หลับมักจะเกิดจากความผิดปกติทางจิตใจเช่นกัน

●     ยา ยาที่ได้รับจากแพทย์บางชนิดอาจทำให้นอนไม่หลับ เช่น ยาต้านซึมเศร้าบางชนิด และยาสำหรับหอบหืดหรือยาความดัน ยาที่หาซื้อได้ตามร้านขายยาทั่วไป เช่น ยาแก้ปวดบางชนิด ยาแก้แพ้ ยาแก้หวัด ผลิตภัณฑ์ลดน้ำหนักที่มีคาเฟอีนและสารกระตุ้นอื่นที่รบกวนการนอนหลับ

●     โรคประจำตัวต่าง ๆ โรคที่ทำให้เกิดการนอนไม่หลับเช่น การปวดเรื้อรัง มะเร็ง เบาหวาน โรคหัวใจ หอบหืด โรคกรดไหลย้อน ไทรอยด์เป็นพิษ กลุ่มโรคพาร์กินสัน และโรคอัลไซเมอร์

●     ความผิดปกติที่เกี่ยวข้องกับการนอนหลับ โรคหยุดหายใจขณะหลับทำให้คุณหยุดหายใจเป็นช่วง ๆ ระหว่างที่นอนหลับ ซึ่งรบกวนการนอนหลับ กลุ่มอาการขาไม่อยู่สุข ทำให้เกิดความรู้สึกไม่ดีที่ขาและต้องเคลื่อนไหวขาอย่างไม่สามารถควบคุมได้ ซึ่งอาจทำให้คุณนอนไม่หลับ

●     คาเฟอีน นิโคติน และแอลกอฮอล์ กาแฟ ชา โค้กและเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีนอื่น ๆ เป็นตัวกระตุ้น การดื่มเครื่องดื่มเหล่านี้ในเวลาบ่ายแก่ ๆ หรือในตอนเย็นทำให้คุณไม่ง่วงนอนในตอนกลางคืน นิโคตินในยาสูบเป็นสารกระตุ้นที่ไปรบกวนการนอนหลับ แอลกอฮอล์อาจทำให้คุณนอนหลับได้ แต่ทำให้ไม่สามารถหลับลึกได้และทำให้ตื่นในตอนกลางคืน

โรคนอนไม่หลับกับอายุที่เพิ่มขึ้น

เมื่อคุณอายุมากขึ้น คุณอาจมีปัญหาการนอนไม่หลับ:

●     การเปลี่ยนรูปแบบการนอน คุณมักพักผ่อนน้อยลงเมื่ออายุมากขึ้น เสียงต่าง ๆ หรือการเปลี่ยนแปลงอื่น ๆ ในสภาพแวดล้อมของการนอนหลับอาจทำให้คุณตื่นได้ ดังนั้น คุณจะเหนื่อยในตอนเย็นและตื่นเช้าในตอนเช้า แต่ผู้สูงอายุก็ยังต้องการเวลาในการนอนหลับเท่า ๆ กับคนหนุ่มสาว

●     การเปลี่ยนแปลงของกิจกรรม คุณอาจจะทำกิจกรรมที่ใช้ร่างกายหรือทำกิจกรรมทางสังคมน้อยลง ซึ่งการไม่ทำกิจกรรมสามารถรบกวนการนอนหลับได้ และเมื่อคุณตื่นตัวน้อยลง คุณก็มีแนวโน้มที่จะงีบหลับมากขึ้น ซึ่งสามารถรบกวนการนอนหลับในตอนกลางคืนได้

●     สุขภาพเปลี่ยน การปวดเรือรัง เช่น ข้ออักเสบหรือหลังมีปัญหาหรือโรคซึมเศร้า หรือวิตกกังวลสามารถรบกวรการนอนหลับได้ หรือเป็นปัญหาที่ทำให้ตื่นมาฉี่ในตอนกลางคืน เช่น ต่อมลูกหมาก หรือกระเพาะปัสสาวะมีปัญหารบกวนการนอนหลับ ภาวะหยุดหายใจขณะหลับและภาวะขาอยู่ไม่สุขพบมากเมื่ออายุเพิ่มขึ้น

●     ใช้ยามากขึ้น ผู้สูงอายุมักใช้ยามากกว่าคนหนุมสาว ซึ่งอาจทำให้เกิดการนอนไม่หลับอันเนื่องมาจากยา

การนอนไม่หลับในเด็กและวัยรุ่น

ปัญหาการนอนหลับอาจเป็นที่น่ากังวลของเด็กและวัยรุ่นเช่นกัน อย่างไรก็ตาม เด็ดและวัยรุ่นบางคนอาจมีปัญหาการนอนหลับเพราะนาฬิกาชีวภาพของพวเขาล่าช้า พวกเขาต้องการนอนดึกและนอนต่อในตอนเช้า

ภาวะแทรกซ้อน

การนอนหลับเป็นสิ่งที่สำคัญต่อสุขภาพเท่า ๆ กับอาหารที่ดีต่อสุขภาพหรือกิจกรรมทางร่างกายต่าง ๆ ไม่ว่าปัญหาการนอนไม่หลับจะเป็นอะไร มันสามารถส่งผลกระทบต่อคุณได้ทั้งทางจิตใจและทางร่างกาย ผู้ที่เป็นโรคนอนไม่หลับมีคุณภาพชีวิตที่ต่ำกว่าเมื่อเทียบกับผู้ที่นอนหลับดี

ภาวะแทรกซ้อนของโรคนอนไม่หลับอาจมีดังนี้:

●     ประสิทธิภาพการทำงานหรือการเรียนลดลง

●     การตอบสนองในการขับรถช้าลงและความเสี่ยงในการเกิดอุบัติเหตุเพิ่มมากขึ้น

●     มีความปิดปกติทางสุขภาพจิต เช่น โรคซึมเศร้า วิตกกังวล หรือการใช้สารเสพติด

●     เพิ่มความเสี่ยงและความรุนแรงของโรคและภาวะต่าง ๆ เช่น โรคความดันโลหิตสูงและโรคหัวใจ

การป้องกัน

นิสัยการนอนที่ดีสามารถป้องกันโรคนอนไม่หลับและทำให้หลับดีขึ้นได้:

●     ตื่น หลับ ให้เป็นเวลาทุกวัน รวมถึงวันหยุดด้วย

●     ทำกิจกรรมในชีวิตประจำวันเสมอจะทำให้หลับดีขึ้น

●     ตรวจสอบยาที่ใช้อยู่เพื่อดูว่าเป็นาเหตุของการนอนไม่หลับหรือไม่

●     หลีกเลี่ยง หรือจำกัดการงีบหลับ

●     หลีกเลี่ยง หรือจำกัดเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีนและแอลกอฮอล์ ไม่ใช้นิโคติน เพราะจะส่งผลให้นอนไม่หลับ กระสับกระส่าย

●     หลีกเลี่ยงอาหารมื้อใหญ่หรือเครื่องดื่มเยอะ ๆ ก่อนนอน

●     ทำเตียงให้น่านอน และใช้สำหรับการมีเพศสัมพันธ์หรือการนอนหลับเท่านั้น

●     สร้างบรรยากาศที่ผ่อนคลายเมื่อจะนอน เช่น การอาบน้ำอุ่น การอ่านหนังสือ หรือการฟังเพลงเบา ๆ

นี่คือแหล่งที่มาในบทความของเรา

●     https://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/insomnia/symptoms-causes/syc-20355167

●     https://www.webmd.com/sleep-disorders/insomnia-symptoms-and-causes

●     https://www.nhs.uk/conditions/insomnia/

●     https://my.clevelandclinic.org/health/diseases/12119-insomnia

Write Reviews

Leave a Comment

Please Post Your Comments & Reviews

Your email address will not be published. Required fields are marked *

No Comments & Reviews