9ตัวช่วยเรื่องการนอนด้วยวิธีธรรมชาติ

25 May, 2021 | สุมุกดา ฉิมโพธิ์กลาง | No Comments

9ตัวช่วยเรื่องการนอนด้วยวิธีธรรมชาติ

7 ตัวช่วยเรื่องการนอนด้วยวิธีธรรมชาติที่อาจทำให้คุณนอนหลับสบาย (9 Natural Sleep Aids That May Help You Get Some Shut-Eye)

การได้นอนหลับในจำนวนชั่วโมงที่ดีคือสิ่งที่สำคัญต่อสุขภาพได้อย่างเหลือเชื่อ

การนอนหลับสามารถช่วยทำให้ร่างกายและการทำงานของสมองเป็นไปอย่างเหมาะสม การได้นอนหลับอย่างดีในช่วงเวลากลางคืนสามารถทำให้การเรียนรู้, ความทรงจำ, การตัดสินใจ,และการมีความคิดสร้างสรรดีขึ้น

ยิ่งไปกว่านั้น การนอนไม่เพียงพอสามารถทำให้เกิดความเสี่ยงสูงในการเกิดโรค เช่น โรคหัวใจ โรคเบาหวาน และโรคอ้วน

อย่างไรก็ตาม การนอนหลับอย่างมีคุณภาพและได้ปริมาณสามารถทำให้เกิดความเสี่ยงต่ำ มากถึงมากกว่าคนที่มีนอนไม่พอ

จำให้ขึ้นใจว่าการนอนหลับที่ดีเริ่มได้ด้วยการฝึกและทำจนเป็นนิสัย แต่กระนั้นสำหรับบางคนด้วยวิธีแค่นั้นอาจยังไม่เพียงพอ

หากคุณกำลังมองหาการช่วยเหลือพิเศษเพื่อช่วยเรื่องการนอนหลับในเวลากลางคืนอยู่ ควรลองปฏิบัติตาม 9 วิธีช่วยให้นอนหลับได้ด้วยอาหารเสริม

 

1. เมลาโทนินMelatonin

เมลาโทนินคือฮอร์โมนที่ร่างกายเราผลิตตามธรรมชาติ เป็นตัวส่งสัญญานไปยังสมองว่าถึงเวลาต้องนอน

วงจรของฮอร์โมนชนิดนี้จะสร้างและปล่อยออกมาเป็นประจำทุกๆวัน-ระดับของเมลาโทนินตามธรรมชาติจะเพิ่มขึ้นสูงในช่วงเย็นและลดลงในช่วงเช้า

ด้วยเหตุนี้เอง การรับประทานอาหารเสริมเมลาโทนินจึงได้กลายมาเป็นที่นิยมในการแก้ปัญหาเรื่องการนอน โดยเฉพาะในกรณีที่วงจรของเมลาโทนินถูกทำให้หยุดชะงัก เช่นอาการเจ็ตแล๊ก

จากการศึกษาหลายตัวอย่างรายงานว่าเมลาโทนินสามารถทำให้คุณภาพและระยะเวลาในการนอนในช่วงกลางวันดีขึ้นได้ด้วย สิ่งนี้เองเป็นผลดีอย่างยิ่งโดยเฉพาะกับคนที่มีตารางรูปแบบการใช้ชีวิตด้วยการนอนในช่วงกลางวัน เช่นพนักงานที่ต้องทำงานเป็นกะ

ยิ่งไปกว่านั้น เมลาโทนินยังอาจทำให้คุณภาพการนอนของผู้ที่มีความผิดปกติด้านการนอนโดยรวมดีขึ้นได้ โดยเฉพาะ เมลาโทนินเองนั้นยังช่วยลดระยะเวลาก่อนหลับและเพิ่มระยะเวลาหลับ

อาหารเสริมเมลาโทนินมีความปลอดภัยสำหรับผู้ใหญ่ในการใช้ทั้งระยะสั้นและระยะยาว

บทสรุป

อาหารเสริมเมลาโทนินสามารถช่วยให้คุณภาพการนอนดีขึ้น และดูเหมือนจะช่วยได้มากเป็นพิเศษสำหรับคนที่มีภาวะเจ๊ตแล๊กหรือต้องทำงานเป็นกะ

2. รากวาเลอเรียน

วาเลอเรียนคือพืชสมุนไพรที่มีต้นกำเนิดอยู่ในแถบยุโรปและภูมิภาคเอเซีย รากของวาเลอเรียนนำมาใช้เป็นสมุนไพรสำหรับรักษาอาการวิตกกังวล  ซึมเศร้า และวัยหมดประจำเดือน รวมไปถึงโรคเครียด นอนไม่หลับ

รากวาเลอเรียนตือหนึ่งในพืชที่ถูกนำมาใช้เป็นพืชสมุนไพรที่ช่วยในการนอนหลับมากที่สุดตัวหนึ่งในสหรัฐอเมริกาและแถบยุโรป

แต่อย่างไรก็ตาม ผลการศึกษานั้นก็ยังมีความไม่แน่นอนนัก

วัยหมดประจำเดือนและวัยหลังหมดประจำเดือนของผู้หญิงพบว่ามักมีอาการของโรคนอนไม่หลับและมีคุณภาพการนอนมีปัญหา  ผลจากการทดลองแบบสุ่มและมีกลุ่มควบคุม พบว่าหลังจากรับประทานวาเลอเรียนแล้วอาการต่างๆกลับดีขึ้น

ตามรายงานการรับประทานวาเลอเรียนปริมาณ 300-900 มก.เป็นประจำก่อนนอน สามารถช่วยให้อัตราการนอนมีคุณภาพดีขึ้น

แต่ถึงอย่างนั้นก็ตาม จากการทดลองจากทั้งกลุุ่มสุ่มและการศึกษาอื่นๆพบว่าดีขึ้นต่อส่วนการตอบรับการรับรู้การนอนที่มีคุณภาพได้ค่อนข้างดีในระหว่างการนอนหลับ เช่น คลื่นสมองหรืออัตราการเต้นของหัวใจ

การรับประทานรากวาเลอเรียนในระยะสั้นนั้นมีความปลอดภัยสำหรับผู้ใหญ่ที่รับประทานไม่มากหรือไม่บ่อยนัก

แต่อย่างไรก็ตามการใช้ในระยะยาวเพื่อความปลอดภัยอาจต้องดูเป็นพิเศษสำหรับบางคน เช่นหญิงตั้งครรภ์หรือผู้หญิงที่กำลังให้นมบุตร

บทสรุป

รากวาเลอเรียนอาจช่วยทำให้คุณภาพการนอนและอาการโรคนอนไม่หลับดีขึ้นในบางคน จากการศึกษาส่วนใหญ่พบว่ามีความปลอดภัยเมื่อใช้ในระยะยาว

3. แมกนีเซียม

แมกนีเซียมคือแร่ธาตุที่มีความเกี่ยวข้องกับกระบวนการต่างๆนับร้อยของร่างกาย และมีความสำคัญต่อการทำงานของสมองและสุขภาพของหัวใจ

อีกทั้งยังอาจช่วยทำให้ร่างกายและจิตใจสงบ ทำให้การนอนหลับนั้นง่ายมากขึ้นได้

จากการศึกษาแสดงให้เห็นว่าแมกนีเซียมมีผลต่อการพักผ่อนซึ่งส่วนหนึ่งเป็นเพราะว่าสามารถควบคุมการสร้างสารเมลาโทนินได้ อย่างที่ทราบกันมาแมกนีเซียมช่วยผ่อนคลายกล้ามเนื้อและมีผลต่อการนอน

จากการศึกษาพบว่าการนำมารวมกันทั้งแมกนีเซียม เมลาโทนิน และวิตามินบีนั้นสามารถช่วยรักษาอาการโรคนอนไม่หลับได้แทบทุกสาเหตุ

แมกนีเซียมยังช่วยเพิ่มระดับแกมมา อะมิโนบิวทีริก แอซิด (กาบา) (กรดอะมิโนที่ทำหน้าที่เป็นสารสื่อประสาท) ช่วยส่งการสื่อสารไปที่สมองให้ผ่อนคลายลง

จากการศึกษารายงานว่าการมีระดับของแมกนีเซียมที่ไม่เพียงพอในร่างกายมีส่วนเกี่ยวข้องกับปัญหาด้านการนอนและโรคนอนไม่หลับ

หรืออีกนัยหนึ่งคือการรับประทานอาหารเสริมแมกนีเซียมเพิ่มมากขึ้นอาจช่วยเพิ่มคุณภาพและระยะเวลานอนของคุณให้มีประสิทธิภาพเพิ่มมากขึ้นได้

จากการศึกษาผู้เข้าร่วมทดลองจำนวน 46 คน ให้รับประทานแมกนีเซียม 500 มก.หรือยาหลอกเป็นประจำทุกวันเป็นเวลา 8 สัปดาห์ กลุ่มที่รับประทานแมกนีเซียมมีคุณภาพการนอนโดยรวมดีขึ้น ในกลุ่มดังกล่าวพบว่ามีสารเมลาโทนินและสารเรนินในเลือดสูงมากขึ้น ซึ่งฮอร์โมนทั้งสองชนิดนี้มีผลควบคุมในการนอน

จากการศึกษาอีกกลุ่มหนึ่งพบว่าการให้ผู้เข้าร่วมรับประทานอาหารเสริมแมกนีเซียมปริมาณ 225 มก.นั้นมีมีการนอนที่ดีกว่ากลุ่มที่ได้รับยาหลอก แต่กระนั้นก็ตามการรับประทานเมลาโทนิน 5 มก.และซิงค์ 11.25 มก.นั้นยังไม่ส่งผลที่ดีเท้ากับการทานแมกนีเซียมเพียงตัวเดียว

แต่จากการศึกษาที่สองตัวอย่างกลับพบว่าไม่มีประโยชน์อะไรกับผู้สูงอายุ คนที่อาจมีระดับแมกนีเซียมในเลือดต่ำ จึงยังเป็นเรื่องไม่แน่นอนที่ผลที่ได้นี้อาจส่งผลแต่เฉพาะกับคนที่แข็งแรงที่มีการรับประทานแมกนีเซียมเป็นประจำมาอยู่แล้วหรือไม่

บทสรุป

แมกนีเซียมมีผลทำให้ทั้งร่างกายและสมองมีการผ่อนคลาย ซึ่งสิ่งนี้เองอาจช่วยให้คุณภาพการนอนอาจดีขึ้นได้

4. ลาเวนเดอร์

พืชตระกูลลาเวนเดอร์สามารถพบเจอได้เกือบทั่วโลก เป็นดอกไม้สีม่วงเมื่อแห้งสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้มากมาย

ลาเวนเดอร์มีกลิ่นหอมช่วยผ่อนคลายที่เชื่อกันว่าช่วยทำให้การนอนหลับดีขึ้น

ในความเป็นจริงแล้ว จากการศึกษาหลายกรณีแสดงให้เห็นว่าการสูดดมกลิ่นลาเวนเดอร์เบาๆก่อนนอนก็เพียงพอที่จะทำให้คุณภาพการนอนดีขึ้นแล้ว ได้ผลดีสำหรับคนที่แข็งแรงซึ่งมีปัญหาโรคนอนไม่หลับชนิดที่เป็นไม่มาก โดยเฉพาะในผู้หญิงและเด็ก

จากการศึกษาผู้สูงอายุที่มีภาวะสมองเสื่อมมีรายงานว่าการบำบัดรักษาโรคโดยใช้กลิ่นลาเวนเดอร์ส่งผลให้อาการนอนไม่หลับดีขึ้น จำนวนระยะการนอนมีเพิ่มมากขึ้น ในบางรายที่มีการตื่นเช้ามากเกินไป (ราว 3 นาฬิกา) พบว่าสามารถหลับไปนอนต่อได้อีกครั้ง

อีกการศึกษาหนึ่งของคนจำนวน 221 คนที่มีภาวะวิตกกังวล ให้ใช้น้ำมันลาเวนเดอร์ปริมาณ 80 มก.ทุกวันให้กลุ่มทดลองและกลุ่มยาหลอก

เมื่อครบ 10 สัปดาห์ พบว่าทั้งสองกลุ่มมีระยะการนอนและมีคุณภาพการนอนที่ดีขึ้น กลุ่มที่ใช้ลาเวนเดอร์ส่งผลดีกว่า 14-24% โดยไม่มีรายงานได้รับผลกระทบข้างเคียง

ถึงแม้จะพบว่าการบำบัดด้วยกลิ่นลาเวนเดอร์จะมีความปลอดภัยก็ตาม แต่การรับประทานลาเวนเดอร์อาจทำให้เกิดอาการคลื่นไส้และปวดท้องได้ในบางราย น้ำมันหอมระเหยมีจุดประสงค์เพื่อการบำบัดโรคโดยใช้กลิ่นและไม่ได้มีไว้เพื่อรับประทาน

บทสรุป

การบำบัดด้วยกลิ่นลาเวนเดอร์อาจช่วยทำให้การนอนดีขึ้นได้ จากการศึกษาส่วนใหญ่พบว่าการใช้อาหารเสริมลาเวนเดอร์มีความจำเป็นต้องได้รับการประเมินก่อนการใช้เพื่อประสิทธิผลและความปลอดภัย

5. ดอกเสาวรส

ดอกเสาวรสหรืออีกชื่อคือ Passiflora incarnata หรือ เมย์ป็อป คือพืชสมุนไพรที่นิยมนำมาใช้รักษาโรคนอนไม่หลับ

ตระกูลดอกเสาวรสมีความเกี่ยวเนื่องในการทำให้การนอนดีขึ้นนั้นมีถิ่นกำเนิดอยู่ในสหรัฐอเมริกาเหนือ และมีการเพาะผลูกในแถบยุโรป, เอเซีย, แอฟริกาและออสเตรเลีย

ดอกเสาวรสมีผลต่อการนอนจากการศึกษาผ่านสัตว์ทดลอง แต่กระนั้นก้พบว่าส่งผลต่อมนุษย์ด้วยเช่นกันขึ้นอยู่กับลักษณะของการบริโภค

จากการศึกษาในมนุษย์ เมื่อเทียบผลที่ได้จากกลุ่มที่ดื่มชาเสาวรสกับกลุ่มที่ดื่มชาหลอกที่ทำมาจากใบพาร์สลีย์

หลังจากให้ผู้เข้าร่วมการทดลองดื่มชา 1 ชั่วโมงก่อนนอนเป็นเวลา 1 สัปดาห์ จากนั้นหยุดพัก 1สัปดาห์และจากนั้นเป็นชาสองซอง แต่ละซองแช่ไว้ประมาณ 10 นาที จากนั้นนักวิจัยก็เฝ้าสังเกตดูคุณภาพของการนอน

เมื่อสิ้นสุดสัปดาห์ที่สาม จากการเฝ้าสังเกตประเมินได้ว่าผู้เข้าร่วมการทดลองไม่ได้ทำให้การนอนนั้นดีขึ้น

แต่อย่างไรก็ตาม เมื่อมีการสอบถามถึงอัตราคุณภาพการนอนของผู้ทดลอง พบว่าอัตราสูงขึ้นราว 5%ของคนที่ดื่มชาเสาวรสเมื่อเทียบกับคนที่ดื่มชาใบพาร์สลีย์

จากการศึกษาคนที่มีภาวะโรคนอนไม่หลับเมื่อเร็วๆนี้พบว่า คนที่มีการใช้เสาวรสสกัดนานมากกว่า 2 สัปดาห์เห็นได้ชัดว่าค่าการนอนหลับนั้นดีขึ้นกว่าเมื่อเทียบกับกลุุ่มที่ใช้ยาหลอก

ค่ากำหนดดังกล่าวดูจาก:

●     จำนวนชั่วโมงในการนอนทั้งหมด

●     ประสิทธิภาพในการนอน, หรือเปอร์เซ็นต์ของเวลาที่ใช้ในการนอนที่ไม่ใช่การนอนแบบไม่หลับบนเตียง

●     เวลาตื่นนอนนับจากตอนเริ่มเข้านอน

จากการศึกษาเมื่อปี 1998 มีการเปรียบเทียบผลที่ได้จากการรับประทานระหว่างอาหารเสริมเสาวรสจำนวน 1.2 กรัม, ยานอนหลับทั่วไปและยาหลอก นักวิจัยพบว่าไม่มีความแตกต่างกันระหว่างกลุ่มที่ทานอาหารเสริมเสาวรสกับกลุ่มยาหลอก

การศึกษาเพิ่มเติมจึงมีความจำเป็น แต่การรับประทานเสาวรสก็ไม่มได้ส่งผลที่แย่เพราะมีความปลอดภัยสำหรับผู้ใหญ่ อีกทั้งเสาวรสอาจช่วยก่อให้เกิดประโยชน์เมื่อบริโภคเป็นชาหรือสกัดที่ไม่ใช่อาหารเสริม

บทสรุป

ชาเสาวรสหรือเสาวรสสกัดอาจช่วยให้คุณภาพการนอนดีขึ้นบ้างในบางราย แต่อย่างไรก็ตามหลักฐานดังกล่าวมีผสมผสานกันไปและบางการศึกษารายงานว่าไม่มีผลใดๆ ดังนั้นการศึกษาเพิ่มเติมจึงเป็นสิ่งจำเป็น

6. ไกลซีน

ไกลซีนคือกรดอะมิดนที่มีบทบาทที่สำคัญต่อระบบประสาท จากการศึกษาพบว่าอาจช่วยทำให้การนอนหลับดีขึ้น

การทำงานที่แน่ชัดอาจยังไม่เป็นที่แน่นอน แต่ที่แน่ๆคือไกลซีนนั้นมีส่วนช่วยทำให้อุณหภูมิของร่างกายลดลงในเวลานอนช่วงกลางคืน เป็นการส่งสัญญานว่าถึงเวลานอนแล้ว

จากการศึกษาเมื่อปี 2006 ผู้ร่วมการทดลองที่มีปัญหาด้านการนอนให้บริโภคไกลซีน 3 กรัมทันทีก่อนเวลานอนกับกลุ่มยาหลอก

กลุ่มที่ได้รับไกลซีนรายงานว่ารู้สึกเหนื่อยล้าน้อยลงในเช้าวันถัดมา พวกเขาบอกว่ารู้สึกมีชีวิตชีวา,กระชุ่มกระชวยและสดใสมากขึ้นในเช้าวันต่อมา

การศึกษาเมื่อปี 2007 จากการติดตามผลของไกลซีนในผู้เข้ากลุ่มทดลองที่มีปัญหาด้านการนอน ด้วยการตรวจวัดระดับของคลื่นสมอง, อัตราการเต้นของหัวใจและการหายใจในขณะนอนหลับ

ผู้ร่วมกลุ่มทดลองที่รับประทานไกลซีน 3 กรัมก่อนนอนแสดงให้เห็นว่าระดับต่างๆที่ตรวจวัดจากการนอนมีคุณภาพที่ดีขึ้นเมื่อเทียบกับกลุ่มที่ใช้ยาหลอก อาหารเสริมไกลซีนยังช่วยทำให้ผู้เข้าร่วมกลุ่มทดลองสามารถนอนหลับได้เร็วขึ้นอีกด้วย

ไกลซีนยังช่วยให้ช่วงกลางวันมีประสิทธิภาพมากขึ้นในรายที่มีภาวะขาดการนอนหลับชั่วคราว ตามข้อมูลการศึกษากลุ่มขนาดเล็ก

ผู้เข้าร่วมกลุ่มการทดลองที่มีการจำกัดการนอนเป็นเวลา 3 คืนติดต่อกัน ในแต่ละคืนก่อนนอนให้มีการรับประทานไกลซีน 3 กรัม อีกกลุททานยาหลอก 3 กรัม กลุ่มที่ทานไกลซีนรายงานผลว่าสามารถลดความเหนื่อล้าและการง่วงในเวลากลางวันได้ดีกว่าอีกกลุ่ม

คุณสามารถหาไกลได้ทั้งรูปแบบยาเม็ดหรือชนิดผงที่สามารถนำมาละลายในน้ำ โดยรับประทานได้ 0.8 กรัมต่อน้ำหนักตัว 1 กก. ต่อวัน แต่จำเป็นต้องมีการศึกษาเพิ่มเติม จากการศึกษาผู้ร่วมกลุ่มทดลองพบว่ารับประทานเพียงแค่วันละ 3 กรัมต่อวันเท่านั้น

คุณสามารถเพิ่มการรับประทานไกลซีนได้ด้วยการรับประทานอาหารที่อุดมไปด้วยสารอาหารนี้ได้เช่น:

●     ผลิตผลจากสัตว์เช่น น้ำต้มกระดูก, เนื้อ, ไข่, สัตว์ปีก, และปลา

●     ถั่วต่างๆ

●     ผักโขม

●     ผักเคล

●     ผักกระหล่ำ

●     ผลไม้เช่นกล้วยและกีวี่

บทสรุป

การบริโภคไกลซีนทันทีก่อนนอนอาจช่วยทำให้นอนหลับได้เร็วขึ้นและยังช่วยทำให้คุณภาพการนอนโดยรวมดีขึ้น

7 อาหารเสริมชนิดอื่นๆ

มีอาหารเสริมอีกมากมายหลายชนิดที่มีตามท้องตลาด แต่ไม่ใช่ทั้งหมดที่ได้รับการสนับสนุนให้รับประทาน

รายชื่อด้านล่างนี้คืออาหารเสริมบางชนิดที่อาจมีประโยชน์ในเรื่องการนอนแต่จำเป็นต้องได้รับการค้นคว้าเพิ่มเติม

●     ทริพโตเฟน: จากรายงาน การรับประทานปริมาณขั้นต่ำ 1 กรัมต่อวัน กรดอะมิโนที่จำเป็นนี้สามารถช่วยทำให้คุณภาพการนอนดีขึ้นได้ ในปริมาณดังกล่าวนี้ยังช่วยทำให้นอนได้เร็วมากขึ้นอีกด้วย

●     ใบแปะก๊วย: จากการศึกษาในผู้สูงอายุที่บริโภคแปะก๊วย 240 มก. 30-60 นาทีก่อนนอนอาจช่วยลดความเครียด, ช่วยผ่อนคลายและทำให้การนอนดีขึ้น 

●     แอล-ธีอะนีน: การบริโภคในปริมาณ 400 มก.เป็นประจำทุกวัน ส่วนประกอบที่เป็นกรออะมิโนในอาหารเสริมนี้จะช่วยทำให้ผ่อนคลายและการนอนหลับดีขึ้น จากการทดลองในสัตว์พบว่าจะยิ่งได้ผลดีขึ้นเมื่อใช้ร่วมกับกาบา (GABA)     

คาวา คือพืชชนิดหนึ่งซึ่งส่งผลเรื่องการนอนหลับ มีต้นกำเนิดมาจากหมู่เกาะแปซิฟิกใต้ รากของคาวาถูกนำมาใช้เป็นชา ซึ่งสามารถหาบริโภคได้ในรูปแบบชองอาหารเสริม

แต่อย่างไรก็ดี คาวานี้ก็มีส่วนเกี่ยวข้องที่อาจทำให้ตับได้รับความเสียหายที่รุนแรงได้ อาจเกิดจากการผลิตที่มีคุณภาพไม่ดีหรือมีการเจือปน ในบางประเทศอย่างเช่นในแคนาดาและบางส่วนของยุโรป มีการสั่งห้ามการใช้เด็ดขาด

จึงควรต้องมีความระมัดระวังมากเป็นพิเศษก่อนการเลือกใช้คาวา

บทสรุป

ทริพโตเฟน, ใบแปะก๊วยและแอล-ธีอะนีนอาจช่วยในการนอนหลับได้ แต่อย่างไรก็ตามทั้งหมดนี้ควรมีการศึกษาเพิ่มเติม เพื่อหาข้อสรุปที่มั่นใจพอในการใช้ ควรเพิ่มความระมัดระวังก่อนการใช้คาวาเพื่อการนอนหลับ

ยาทางเลือกอื่นที่สามารถหาซื้อได้ตามร้านขายยาทั่วไป

ยานอนหลับอื่นๆที่สามารถหาซื้อได้ตามร้านขายยาทั่วไปเช่น ยาไดเฟนไฮดรามีนและ ยาด็อกซีลามีน ทั้งคู่จัดเป็นยาประเภทยาแก้แพ้

ไดเฟนไฮดรามีน คือยาที่นิยมนำมาใช้ที่มีส่วนผสมออกฤทธิ์แก้แพ้เช่น ยาเบนาดริล โดยหลักๆแล้วยาไดเฟนไฮดรามีนไม่ใช่ยานอนหลับ แต่ปริมาณยาสามารถทำให้เกิดอาการง่วงและส่งผลช่วยในการนอนหลับได้

มีหลายหลักฐานพบว่าการใช้ยาชนิดนี้มาช่วยในการนอนหลับนั้นไม่ใช่เรื่องดี ผู้เชี่ยวชาญหลายท่านแนะนำว่าไม่ควรใช้ไดเฟนไฮดรามีนและยาด็อกซีลามีน บางท่านว่าพวกมันจะไปลดคุณภาพการนอน

และอาจมีผลข้างเคียงอื่นๆตามมารวมไปถึงอาการมึนงง  สับสนและปากแห้ง

การใช้ยานอนหลับที่สามารถหาซื้อได้ตามร้านขายยาทั่วไปเป็นระยะเวลานานๆอาจนำไปสู่ภาวะการดื้อยา ยิ่งเวลาผ่านไปการใช้ยากลุ่มแอนตี้โคลิเนอร์จิก เช่นยาต้านฮีสตามีน สามารถเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดโรคสมองเสื่อมได้

หากคุณสนใจอยากลองรับประทานยานอนหลับ คุณควรศึกษาการใช้อย่างเคร่งครัด และไม่ควรใช้มากกว่า 2 สัปดาห์ติดต่อกัน

คนที่มีภาวะโรคเกี่ยวกับระบบทางเดินหายใจ, ระดับความดันโลหิตสูง, หรือโรคหัวใจควรหลีกเลี่ยงยาทั้งสองชนิดดังกล่าว เพราะยาทั้งสองตัวอาจไปทำปฏิกิริยาต่อระบบประสาทและอาจนำไปสู่ภาวะหัวใจเต้นเร็ว

ในผู้สูงอายุ โดยเฉพาะคนที่มีปัญหาเกี่ยวกับตับหรือไต ไม่ควรใช้ยาไดเฟนไฮดรามีน เพราะอาจเพิ่มความเสี่ยงให้เกิดผลข้างเคียงที่ไม่ดีได้

บทสรุป

ยาต้านฮีสตามีน ไดเฟนไฮดรามีนและยาด็อกซีลามีน อาจช่วยในการนอนหลับได้ ถึงแม้จะไม่ใช้จุดประสงค์หลักของตัวยาก็ตาม จากหลักฐานที่พบ เราควรรับทราบผลข้างเคียงที่อาจเกิดขึ้นได้ก่อนการใช้ยาดังกล่าว

ความเสี่ยงและข้อควรระวัง

ควรปรึกษาแพทย์ก่อนการใช้สมุนไพรหรือยาที่สามารถหาซื้อได้เองตามร้านขายยาทั่วไปสำหรับเป็นยานอนหลับ โดยเฉพาะคนที่มีแนวโน้มว่าตัวยาอาจมีปฏิกิริยาโรคบางอย่างเช่น ยาเจือจางเลือด

ดังนั้นควรแจ้งให้แพทย์ทราบหากคุณมีปัญหาด้านการนอนมาไม่น้อยกว่า 2 สัปดาห์

ยานอนหลับที่สามารถหาซื้อได้ตามร้านขายยาทั่วไปมักมีผลข้างเคียงน้อยก็จริงแต่อย่างไรก็ตาม ก็เป็นเรื่องสำคัญที่ควรระมัดระวัง ยาบางชนิดอาจส่งผลในระยะยาวได้

ผลข้างเคียงที่อาจมีร่วมกับการใช้ยานอนหลับตามรายละเอียดด้านล่างนี้ ผลข้างเคียงบางอย่างอาจเพิ่งมีรายงานไม่มากนักหรือบางอย่างอาจเกิดขึ้นกับคนที่ได้รับยาในปริมาณที่สูงเท่านั้น

●     เมลาโทนิน: มีผลข้างเคียงน้อยมาก เช่น ปวดศีรษะ, คลื่นไส้และมึนงง

●     รากวาเลอเรียน: ท้องเสีย, ปวดศีรษะ, คลื่นไส้,และใจสั่น

●     แมกนีเซียม:  ท้องเสีย, คลื่นไส้, และอาเจียน เมื่อรับประทานในปริมาณสูง

●     ลาเวนเดอร์: คลื่นไส้และอาหารไม่ย่อย

●     ดอกเสาวรส: มึนงงและสับสน พบได้ในบางครั้ง

●     ไกลซีน: ถ่ายเหลวและปวดท้อง พบได้น้อยครั้ง

●     ทริพโตเฟน: คลื่นไส้เล็กน้อย, ปากแห้ง,มึนงงและมือสั่น

●     ใบแปะก๊วย: มีผลข้างเคียงน้อยและแทบไม่มี เช่นท้องเสีย, ปวดศีรษะ, คลื่นไส้และขึ้นผื่น

●     แอล-ธีอะนีน: ยังไม่มีผลข้างเคียงโดยตรงและเป็นที่แน่ชัดเมื่อรับประทานเดี่ยวๆ ท้องเสียและปวดท้องเมื่อรับประทานร่วมกับแอล-ซีสเทอีน

ผู้หญิงที่กำลังตั้งครรภ์หรือกำลังให้นมบุตรควรปรึกษาแพทย์ก่อนการใช้ยาและอาหารเสริมที่แนะนำไปทุกชนิด

แมกนีเซียม, ไกลซีนและทริฟโตเฟนมีความสำคัญย่างยิ่งสำหรับการพัฒนาของตัวอ่อนในครรภ์มารดา และไม่จำเป็นต้องหลีกเลี่ยงหากคุณกำลังตั้งครรภ์หรือกำลังให้นมบุตร อย่างไรก็ตามแพทย์จะเป็นผู้ที่สามารถแนะนำปริมาณของยาได้อย่างเหมาะสมเพื่อหลีกเลี่ยงโอกาสที่จะเกิดผลข้างเคียง

บทสรุป

ยานอนหลับที่สามารถหาซื้อได้ตามร้านขายยาทั่วไปมีผลข้างเคียงน้อยมากหากใช้ในระยะสั้น ควรปรึกษาแพทย์ก่อนการใช้สมุนไพรหรือยานอนหลับ หลีกเลี่ยงการใช้ยาดังกล่าวหากกำลังตั้งครรภ์หรือกำลังให้นมบุตร

นี่คือแหล่งที่มาในบทความของเรา

●     https://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/insomnia/symptoms-causes/syc-20355167

●     https://www.webmd.com/sleep-disorders/insomnia-symptoms-and-causes

●     https://www.sleepfoundation.org/insomnia

●     https://www.nhs.uk/conditions/insomnia/

 

 

Write Reviews

Leave a Comment

Please Post Your Comments & Reviews

Your email address will not be published. Required fields are marked *

No Comments & Reviews